รางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ โดยมูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ

(ชื่อเดิม รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ โดยมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ)

รางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ เป็นรางวัลเพื่อยกย่องเชิดชูบุคลากร ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างและวางรากฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย ทั้งที่เป็นฐานความรู้ และ/หรือนำไปประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อสังคมอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เป็นที่ประจักษ์ยอมรับกันโดยทั่วไป ทั้งในระดับประเทศ และ/หรือ นานาชาติ ซึ่งรางวัลนี้จะเป็นแบบอย่าง และมีส่วนผลักดันให้เกิดนักคิด นักพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศ ให้มีมากขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม และประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป

รวมพระราชดำรัสเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

      การให้รางวัลของมูลนิธิในช่วงต่อจากนี้ไป ควรทำในรูปของรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลผู้คิดค้น หรือมีส่วนสำคัญในการคิดค้น ดำเนินงาน และผลักดันโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา ฯลฯ ของประเทศ 

"

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล

ประธานมูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ

อดีต ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

ปัจจุบัน เป็นกรรมการอิสระ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และดำรงตำแหน่งสำคัญในองค์กรหลายแห่ง เช่น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และในสภามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นต้น

       ผมได้เข้ามาร่วมงานกับมูลนิธิปี 2560 เมื่อครั้งยังชื่อว่า มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจัดการประกวดเพื่อชิงรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดาสารสนเทศ ครั้งที่ 12 ในระดับบุคคลทั่วไป และนักเรียน นิสิต นักศึกษา การประกวดรางวัลเจ้าฟ้าไอที ฯ นี้มีมาตรฐานที่สูงมาก กล่าวคือเงื่อนไขของรางวัลต้องเป็นผลงานที่ใช้จริง มีประโยชน์ต่อสังคม และมีการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเข้มข้น  โดยกรรมการมาจากสถาบันระดับประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล  สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย เป็นต้น

       เมื่อผมลองมองย้อนไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิในปี 2535 เห็นว่ามูลนิธิได้ผ่านการดำเนินงานมา 2 ช่วงเวลา กล่าวคือ ช่วงที่หนึ่ง (ปี2535 – 2548) 13 ปีแรก เป็นการสนับสนุนให้ทุนวิจัย และ ช่วงที่สอง (2548 – 2560) หรือ 12 ปีต่อมา เป็นการจัดประกวดโครงการ ในระดับบุคคลทั่วไป และนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อหาผู้ที่มีผลงานที่เป็นเลิศ และมีประโยชน์แก่สังคม ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกเฟ้นให้รางวัลแก่โครงการที่ดีเยี่ยม ด้วยมาตรฐานที่สูงมากจากที่กล่าวข้างต้น  และในบางปีไม่มีผู้ได้รับรางวัลเนื่องจากคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของผลงานยังไม่ถึงเกณฑ์ที่มูลนิธิตั้งไว้  เวทีการประกวดที่มูลนิธิดำเนินการจึงค่อนข้างแตกต่างจากรางวัลอื่นๆ ที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น

       มาถึงช่วงที่สาม ที่ทางคณะกรรมการได้ให้โอกาสผมมารับตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิ และเป็นช่วงที่เราเห็นเวทีการประกวดแข่งขันโครงการด้านไอทีมีเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ทั้งที่จัดโดยภาครัฐ ภาคเอกชน หรืออื่นๆ คณะกรรมการจึงได้หารือกันถึงแนวทางที่มูลนิธิของเราจะดำเนินการในช่วงที่สามนับจากนี้ไป  ซึ่งคณะกรรมการเห็นพ้องกันว่า การให้รางวัลของมูลนิธิในช่วงต่อจากนี้ไป ควรทำในรูปของรางวัลเพื่อเชิดชูเกียรติบุคคลผู้คิดค้น หรือมีส่วนสำคัญในการคิดค้น ดำเนินงาน และผลักดันโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้และเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การศึกษา ฯลฯ ของประเทศที่รับรู้ได้  ปีละ 1 รางวัล ซึ่งการจะค้นหาบุคคลดังกล่าว มูลนิธิต้องจัดให้มีกระบวนการสรรหาที่น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ ในขณะเดียวกัน มูลนิธิต้องการให้รางวัลนี้เป็นการแสดงออกถึงการเทอดพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์ประธานที่ปรึกษาของมูลนิธิ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นความสำคัญและให้การสนับสนุนการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องการให้ผู้ที่ได้รับรางวัล มีความภาคภูมิใจในรางวัลที่ได้รับ และรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับการคัดเลือก

          คณะกรรมการมูลนิธิ จึงได้ขอพระราชทาน รางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ เพื่อมอบให้แก่บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและครบถ้วนตามเกณฑ์การพิจารณา ที่ได้รับการคัดเลือก และขอพระราชทานชื่อมูลนิธิใหม่ ที่จะเริ่มรูปแบบการดำเนินงานแบบใหม่ตามที่กล่าวนี้ ซึ่งมูลนิธิได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานชื่อมูลนิธิใหม่ เป็น มูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ พร้อมทั้งได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” ประดับที่ตราสัญลักษณ์ใหม่ของมูลนิธิ อันเป็นมงคลอย่างยิ่งสำหรับการเริ่มต้นรูปแบบการสรรหาและมอบรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีเริ่มแรกของช่วงที่สาม ตามที่กล่าวถึงข้างต้น

   จัดตั้งรางวัลเพื่อการยกย่อง เชิดชู ผู้ทำประโยชน์ด้านเทคโนโลยีประยุต์ให้แก่ประเทศชาติ เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนที่มีความสามารถ ต้องการทำประโยชน์ให้แก่สังคม

"

คุณวิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ

รองประธานมูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ

(ร่วมบริหารมูลนิธิ ฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2535)

อดีต ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) 

ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิองค์กรการกุศล เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา สภากาชาดไทย มูลนิธิอุทกพัฒน์ 

          ดิฉันมีโอกาสร่วมงานกับมูลนิธิมาตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งเมื่อปี 2535 ได้เห็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานที่มีจุดเริ่มต้นจากการให้ทุนวิจัยแก่องค์กรเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ จากนั้นจึงมาเป็นการจัดประกวดการแข่งขันจากผลงานที่มีและใช้จริง โดยขอพระราชทานชื่อรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือว่าเป็นการประกวดรางวัลประเภทไอทีสูงสุดในประเทศไทย จากการประกวดที่ผ่านมาถึง 12 ครั้ง ผลงานที่ชนะเลิศในแต่ละปี ต้องเป็นผลงานที่พัฒนา software โดยคนไทย ไม่มีการคัดลอกมาจากผู้อื่น และผลงานนี้สามารถนำมาใช้ได้จริง มีประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ หรือช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้หลายครั้งไม่มีผลงานที่เหมาะสมแก่รางวัลชนะเลิศในปีนั้นๆ ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาจนเข้าสู่สังคมยุค Digital ซึ่งการพัฒนาที่ต่อยอดมาจนบัดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการวางรากฐานระบบเทคโนโลยีในประเทศที่สมบูรณ์ของบุคลากรที่เป็นผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีของประเทศที่ผ่านมา 

     ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูให้เกียรติ และระลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย กรรมการมูลนิธิฯ ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีรางวัลในลักษณะนี้มาก่อน จึงควรจะจัดตั้งรางวัลเพื่อการยกย่อง เชิดชู ผู้ทำประโยชน์ด้านเทคโนโลยีประยุกต์ให้แก่ประเทศชาติ เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนที่มีความสามารถ ต้องการทำประโยชน์ให้แก่สังคม จึงมีมติปรับรูปแบบจากการประกวดรางวัล เป็นสรรหาผู้เหมาะสมและคัดสรรเพื่อเลือก 1 คน เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งท่านมีพระมหากรุณาธิคุณทรงเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และทรงสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันนี้

คุณวิลาวรรณ วนดุรงค์วรรณ

รองประธานมูลนิธิรางวัลรัตนราชสุดาสารสนเทศ

(ร่วมบริหารมูลนิธิ ฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2535)

อดีต ผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารเอเชีย จำกัด (มหาชน) 

ปัจจุบัน กรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิองค์กรการกุศล เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา สภากาชาดไทย มูลนิธิอุทกพัฒน์ 

       ดิฉันมีโอกาสร่วมงานกับมูลนิธิมาตั้งแต่เริ่มแรกก่อตั้งเมื่อปี 2535 ได้เห็นการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานที่มีจุดเริ่มต้นจากการให้ทุนวิจัยแก่องค์กรเพื่อพัฒนาโครงการต่างๆ จากนั้นจึงมาเป็นการจัดประกวดการแข่งขันจากผลงานที่มีและใช้จริง โดยขอพระราชทานชื่อรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งถือว่าเป็นการประกวดรางวัลประเภทไอทีสูงสุดในประเทศไทย จากการประกวดที่ผ่านมาถึง 12 ครั้ง ผลงานที่ชนะเลิศในแต่ละปี ต้องเป็นผลงานที่พัฒนา software โดยคนไทย ไม่มีการคัดลอกมาจากผู้อื่น และผลงานนี้สามารถนำมาใช้ได้จริง มีประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ หรือช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้หลายครั้งไม่มีผลงานที่เหมาะสมแก่รางวัลชนะเลิศในปีนั้นๆ ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาจนเข้าสู่สังคมยุค Digital ซึ่งการพัฒนาที่ต่อยอดมาจนบัดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการวางรากฐานระบบเทคโนโลยีในประเทศที่สมบูรณ์ของบุคลากรที่เป็นผู้บุกเบิกด้านเทคโนโลยีของประเทศที่ผ่านมา 

     ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง เชิดชูให้เกียรติ และระลึกถึงผู้ทำคุณประโยชน์และมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทย กรรมการมูลนิธิฯ ร่วมกันพิจารณาเห็นว่าในประเทศไทยยังไม่มีรางวัลในลักษณะนี้มาก่อน จึงควรจะจัดตั้งรางวัลเพื่อการยกย่อง เชิดชู ผู้ทำประโยชน์ด้านเทคโนโลยีประยุกต์ให้แก่ประเทศชาติ เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนที่มีความสามารถ ต้องการทำประโยชน์ให้แก่สังคม จึงมีมติปรับรูปแบบจากการประกวดรางวัล เป็นสรรหาผู้เหมาะสมและคัดสรรเพื่อเลือก 1 คน เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งท่านมีพระมหากรุณาธิคุณทรงเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และทรงสนับสนุนการดำเนินงานของมูลนิธิมาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันนี้

     จัดตั้งรางวัลเพื่อการยกย่อง เชิดชู ผู้ทำประโยชน์ด้านเทคโนโลยีประยุต์ให้แก่ประเทศชาติ เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้คนที่มีความสามารถ ต้องการทำประโยชน์ให้แก่สังคม

"

ข่าวและกิจกรรม

ผู้สนับสนุน