ผลงาน ” ระบบแนะนำ และประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่าย สังคมออนไลน์”

รางวัลดีเด่น ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9
ผลงาน ” ระบบแนะนำ และประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่าย สังคมออนไลน์”
โดย นางสาวนารีรัตน์ แซ่เตียว และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

” ระบบแนะนำ และประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่าย สังคมออนไลน์”

DOM (Data and opinion mining)
ระบบแนะนำและประเมินกิจกรรม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์
โครงงานนี้เป็นการพัฒนาระบบแนะนาและประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Event suggestion and evaluation system based on social network mining) เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญ เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจากเว็บไซต์ที่น่าสนใจ และวิเคราะห์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ผ่านทางสื่อสังคม (Social Media) เช่น Twitter, Facebook, Pantip เป็นต้น โดยนำเสนอข้อมูลกิจกรรมประกอบกับข้อมูลการเดินทางและการจราจรพื้นฐาน อ้างอิงจากตำแหน่งปัจจุบันของผู้ใช้งาน ซึ่งผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลที่สนใจ โดยใช้คำสาคัญ (Keywords) หรือประโยคคำถาม (Questions) ที่ต้องการได้ จากนั้นแอพพลิเคชั่นจะทำการประมวลผลคำถามโดยใช้หลักการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมให้กับผู้ใช้งาน และผู้ใช้งานยังสามารถเรียกดูข้อมูลสถานที่สาคัญ เหตุการณ์ต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งข้อมูลการจราจร ในรูปแบบของแผนที่กรุงเทพมหานครได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ระบบนี้ยังทำการวิเคราะห์ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อตรวจหาเหตุการณ์ผิดปกติ (Anomaly Event) ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เพื่อแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งานอีกด้วย
การทำงานของระบบ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนประมวลผล และส่วนแสดงผล สาหรับส่วนประมวลผลหรือ DOM Engine จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์รวบรวมกิจกรรม และจากสื่อสังคมออนไลน์ รวมไปถึงข้อมูลความคิดเห็นจากผู้ใช้งานโดยตรงผ่านแอพพลิเคชั่น เพื่อนำมาประมวลผลโดยใช้หลักการทำ Social Network Mining จากนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านต่างๆ เช่น วิเคราะห์ทัศนคติ (Sentiment Analysis) วิเคราะห์ความคิดเห็น (Opinion Mining) วิเคราะห์ผู้ที่มีอิทธิพลในสื่อสังคมออนไลน์ (Influencer Analysis) เป็นต้น สำหรับส่วนของการแสดงผล สามารถแบ่งการแสดงผลออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันโดยจะนำเสนอผ่านเว็บไซต์ (Dashboard) และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ (Ask DOM) ดังนี้
ประโยชน์ในการใช้งาน
1. ช่วยแนะนำข้อมูลรายละเอียดของกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร รวมไปถึงสภาพจราจรใกล้เคียงบริเวณที่จัดกิจกรรมนั้นๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลหรือวางแผนการเดินทางได้ล่วงหน้า
2. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข่าวสารของกิจกรรมต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา
3. เพื่อช่วยให้องค์กรที่จัดกิจกรรม สามารถตรวจสอบความคิดเห็นของบุคคลทั่วไปได้ โดย ไม่ต้องทำแบบสอบถาม และสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แต่ได้ข้อมูลจากความคิดเห็นทั้งหมดจากมหาชนในเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)
4. ระบบแจ้งเตือนเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ซึ่งแจ้งผู้ใช้ทันทีที่มีการพูดถึงเหตุการณ์นั้นๆในเครือข่ายสังคมออนไลน์ สามารถช่วยให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงการเดินทาง หรือการสัญจรไปยังบริเวณนั้นๆ ได้ทันท่วงที
5. ระบบตอบคำถาม ซึ่งสามารถวิเคราะห์คำถามและตอบผู้ใช้ได้ โดยการประมวลผลข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดเวลาในการค้นหาจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ
6. ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลจากเครือข่ายสังคมออนไลน์นี้ สามารถช่วยให้ผู้ใช้ ทำนายแนวโน้มของกิจกรรม (Event Trends) ที่จัดขึ้นแล้วน่าจะได้รับความนิยมจากชาวกรุงเทพมหานคร ทำให้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการวางแผนสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆขององค์กรได้
7. เพื่อเป็นช่องทางที่สะดวกและรวดเร็วให้กับผู้ใช้งานในการรายงานปัญหาหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
8. ระบบนี้มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย และสามารถประชาสัมพันธ์ข่าวสารหลายๆด้านของกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น การท่องเที่ยว การจราจร เป็นต้น