รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 10

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดแข่งขัน “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” รางวัลพระราชทานอันทรงเกียรติ ครั้งที่ 10

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (มส.) หรือ Foundation for Research in Information Technology (FRIT) จัดการแข่งขันโคงการเทคโนโลยีสารสนเทศดีเด่น เข้ารับ “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่รางวัลพระราชทาน จารึกอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท

ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ พร้อมด้วย ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และ คุณบุญรักษ์ สรัคคานนท์ นายกกิตติมศักดิ์ (ATCI) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ผลงานชนะเลิศและรองชนะเลิศ อันดับ 1 ของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทุกประเภทจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 17 (NSC 2016) และผลงานชนะเลิศและรองชนะเลิศ อันดับ 1 ของบุคคลทั่วไปจากการแข่งขัน Thailand ICT Awards (TICTA) ประจำปี 2557 จะได้รับสิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 10

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศจัดให้มีการประกวดรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ มาอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2557 นี้ กำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 เพื่อสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศหรือพัฒนาในเชิงธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง

การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล และประเภท นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยมูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ พระราชทานโล่รางวัล แก่ผู้ชนะทั้ง 2 ประเภท นอกจากนี้ผู้ชนะประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท และประเภท นักเรียน นิสิต นักศึกษา จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันต้องเป็นผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของคนไทยอาทิ Software, Hardware, Application, Solution, Communication, Network และต้องเป็นผลงานที่ประดิษฐ์คิดค้น ผลิตขึ้นในประเทศไทย และเป็นผลงานที่นำมาใช้ได้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศหรือสามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้

บรรยากาศงานแถลงข่าว “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 10

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จัดแถลงข่าวการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 11 พร้อมประกาศผล ครั้งที่ 10

“รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 10 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) โดยมี ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ ประธานมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณศุภชัย สัจจะไพบูลย์กิจ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย และดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมแถลงข่าว ณ โถงเอนกประสงค์ ชั้น UB ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ วันที่ 30 ตุลาคม 2557

พร้อมนี้ได้มีการประกาศผลการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 10 ซึ่งมีผลงานส่งเข้าร่วมแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 101 ผลงาน แบ่งเป็น ประเภท บุคคลทั่วไป/นิติบุคคล จำนวน 55 ผลงาน และประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำนวน 46 ผลงาน ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง
***ซึ่งในครั้งที่ 10 นี้ ไม่มีรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคลทั่วไป เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีผลงานที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ จึงไม่มีการมอบรางวัลสาขาบุคคลทั่วไปในปีนี้ ***

ผลงานที่ได้รับรางวัล

ผลงาน “ แท็กซี่อัจฉริยะ ”

รางวัลชนะเลิศ รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 10 ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ด้าน Mobile Application ผลงาน“ แท็กซี่อัจฉริยะ ” โดย นายชวิษฐ์ ธาวนพงษ์ นายสุรสิทธิ์ ประคุณหังสิต นางสาวธนภรณ์ สุขสิงห์โตรัตน์ จาก “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี” สมาร์ทแท็กซี่เป็นระบบที่มุ่งเน้นการอานวยความสะดวกสบายในการเดินทางโดยรถแท็กซี่กับทั้งผู้โดยสารและคนขับรถแท็กซี่ สมาร์ทแท็กซี่ใช้การระบุตาแหน่งจากเครื่องโทรศัพท์เพื่อให้บริการในการจัดการกระบวนการในการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ที่มีประสิทธิภาพและอีกทั้งยังแก้ไขปัญหาที่พบเจอในการเดินทาง สมาร์ทแท็กซี่ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์สาหรับผู้โดยสารและคนขับรถแท็กซี่ซึ่งทางานควบคู่กับระบบเบื้องหลัง โดยมีจุดเด่นในด้านความสะดวกสบายที่ผู้โดยสารได้รับผ่านการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ตลอดจนความปลอดภัยที่มอบให้กับผู้โดยสารที่สามารถรายงานสถานในการเดินทาง ข้อมูลคนขับ และตาแหน่งที่ผู้โดยสารอยู่ ณ ปัจจุบันให้กับบุคคลที่ผู้โดยสารระบุและความสามารถในการคัดกรองรายการผู้โดยสารตลอดจนรายงานข้อมูลในการเดินทางที่สาคัญสาหรับคนขับแท็กซี่ โดยรวมแล้วสมาร์ทแท็กซี่เล็งเห็นถึงความสาคัญของผู้โดยสารและคนขับรถแท็กซี่ซึ่งทั้ง 2 เป็นองค์ประกอบที่สาคัญในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่ดีและน่าประทับใจในการเดินทางโดยรถแท็กซี่

ผลงาน“ระบบการตรวจจับการหกล้ม , กิจกรรมต่างๆ และพิกัดตำแหน่งภายในบ้านโดยสมาร์ทโฟน”

รางวัลดีเด่นด้าน : โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งาน ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผลงาน   “ระบบการตรวจจับการหกล้ม , กิจกรรมต่างๆ และพิกัดตำแหน่งภาย   ในบ้านโดยสมาร์ทโฟน” โดย นายสิทธิชัย สุครีพจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การหกล้มถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญมากปัญหาหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็น วัยดึก วัยรุ่น วันทำงาน วัยผู้ใหญ่ หรือในผู้สูงอายุ จากการศึกษาขององค์กรสุขภาพโลกเมื่อปี 2012 พบว่าการเกิดการหกล้มที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตประมาณ 424,000 คน จากทั่วโลก เฉลี่ยวันละ 1,160 คน ส่งผลให้การหกล้มเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตแบบไม่ตั้งใจเป็นอันดับที่ 2 รองจากการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน การเสียชีวิตจากการหกล้มมากกว่า 80% เกิดขึ้นในประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยในระดับต่ำถึงปานกลาง สองในสามของประเทศที่เสียชีวิตเกิดขึ้นในภูมิภาคแปซิกฟิกตะวันตกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากการสำรวจระหว่างปี ค.ศ.1999 ถึง ค.ศ. 2010 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บเนื่องจากการหกล้มเป็นจำนวนถึง 186,029 คน ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการหกล้มปีละประมาฯ 1,600 คน ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย 2 ใน 3 เป็นบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี

ผลงาน “ระบบนำเสนอผ่านแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่มีการควบคุม และทำงานร่วมกัน”

รางวัลดีเด่น ด้าน Business ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผลงาน “ระบบนำเสนอผ่านแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่มีการควบคุม และทำงานร่วมกัน” โดย น.ส.ปริศฎางค์ สุตา จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี bang.mod หรือระบบการนาเสนอผ่านแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่มีการควบคุม และทางานร่วมกันเป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้สาหรับการนาเสนอ ซึ่งมุ่งเน้นการใช้งานบนแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์สาหรับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการนาเสนอ และพัฒนาการทางานร่วมกันระหว่างผู้นาเสนอ และผู้ร่วมชมการนาเสนอที่มีอย่างน้อยหนึ่งราย โดยสามารถแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่าง ๆ กันได้ โดยผู้นาเสนอใช้งาน bang.mod ผ่านทางแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และผู้เข้าร่วมชมการนาเสนอใช้งาน bang.mod ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ได้แก่ มอซิลลาไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) และกูเกิลโครม (Google Chrome) เป็นต้น เพื่อที่จะลดข้อจากัดของอุปกรณ์ และระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์นั้น ๆ ทั้งนี้อุปกรณ์ที่ใช้ในการนาแสนอ และเข้าชมการนาเสนอทั้งหลายมีการเชื่อมต่อกับเครื่องบริการเว็บ (Web Server) และฐานข้อมูล (Database Server) เป็นแบบไร้สาย (Wireless) ที่มีการควบคุมการติดต่อสื่อสารด้วยจุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless Access Point)

ผลงาน “ โปรแกรมรู้ทันเด็ก”

รางวัลพิเศษ ด้าน Social Network Security ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผลงาน “ โปรแกรมรู้ทันเด็ก” โดย น.ส.จินดารัตน์ แซ่โค้ว จาก โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา 2 ปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเข้ามามีบทบาทกับการดำรงชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เฉพาะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปยังทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐและเอกชนโดยเฉพาะองค์กรทางการศึกษามีการนำความสามารถของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการบริหารจัดการเพือยกระดับการศึกษาให้ทันสมัยและให้ผู้เรียนตามทันต่อเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากการสำรวจข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.), 2556พบว่า เด็กไทยในปัจจุบันใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดียนานถึง ชั่วโมงต่อวัน ซึงจากการสุ่มตัวอย่างเด็ก,3,050คน ทังในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ชีให้เห็นว่าวงจรชีวิตเด็กไทยกำลังน่าเป็นห่วงเพราะเสพติดเทคโนโลยีอย่างพุ่งพรวด 2-3 เท่าในรอบ 1 ปีนอกจากนียังพบว่านักเรียนลอกการบ้านจนเป็นนิสัยถึงร้อยละ 41.1อีกด้วย ซึงสอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ดูแลห้องเรียนไอซีทีภายในโรงเรียนสุราษฎร์พิทยาพบว่าร้อยละ 80ของนักเรียน เมื่อให้ทำการสืบค้นข้อมูล นักเรียนมักแอบเล่นเว็บไซต์อย่างอื่นแทนที่จะทำงานตามที่มอบหมายไว้ ร้อยละ 73.3 เมื่อให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลนักเรียนแอบเล่นเกมส์ออนไลน์ และร้อยละ 57.1 นักเรียนมักเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ที่มีเนือหารุนแรงจากปัญหาดังกล่าวนี จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมขึนมาเพือรับมือกับปัญหาดังกล่าวนี โดยใช้ชื่อว่า“โปรแกรมรู้ทันเด็ก” ซึงเป็นโปรแกรมทีใช้อำนวยความสะดวกในการจำกัดการใช้งานโปรแกรมและเกมส์คอมพิวเตอร์ทีไม่พึงประสงค์ของการใช้งานเครืองคอมพิวเตอร์

ผลงาน“ หุ่นยนต์พาเที่ยวชมสวนสัตว์ ”

รางวัลพิเศษ ด้านโปรแกรมเพื่อความบันเทิง ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา ผลงาน“ หุ่นยนต์พาเที่ยวชมสวนสัตว์ ” โดย ด.ช.ภีระสวัสดิ์ ยะภิระ จาก โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่ โครงงานฯ ได้กำหนดเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นใช้หุ่นยนต์เป็นสื่อในการปลูกฝังสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรัก รู้จักการอนุรักษ์รักษาธรรมชาติป่าไม้และสัตว์ป่า ให้อยู่คู่กับมนุษย์ยาวนานที่สุด โดยอาศัยหลักการนำเอาเทคโนโลยีมาผสมผสานให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างลงตัวและเป็นธรรมชาติแบบที่ยังคงความเป็นชีวิต มิใช่เหลือเพียงภาพหรือเป็นหุ่นสัญลักษณ์เท่านั้น ประโยชน์ที่พึงได้รับจากโครงการฯ มีดังนี้ 1. เป็นของเล่นที่มีประโยชน์ให้ความเพลิดเพลินสนุกสนาน พร้อมกับมีความรู้ทั้งเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่และการเรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน 2. เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ให้เพื่อก่อประโยชน์เป็นสื่อส่งเสริมเยาวชนผู้เล่นให้มีความรักหวงแหนในธรรมชาติของป่าไม้และสัตว์ป่า ริเริ่มปลูกฝังรู้จักการอนุรักษ์ และค้นหาเรียนรู้วิธีการสร้างเพิ่มหรือทดแทนธรรมชาติมิให้สูญสิ้นหมดไปอย่างยั่งยืน 3. นำไปพัฒนาปรับปรุงต่อยอดเพื่อนำไปผลิตจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ อันอาจจะได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดของเล่นสำหรับเด็กเยาวชน และแน่นอนว่าคงจะเป็นของเล่นที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาผู้ปกครอง หน่วยงานราชการเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในสถานการศึกษา

ผลงาน “ Wifi Location base system for advertising & SOS for Tourist ”

รางวัลดีเด่น ด้านNetwork และ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประเภทบุคคลทั่วไป ผลงาน Wifi Location base system for advertising & SOS for Tourist โดย คุณชัชฎา อภิชาสุทธากุล และคณะ จาก บริษัท ทัช เทคโนโลยี จำกัด Wi-Fi เป็นทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชณะนี้ สามารถเชื่อมต่อได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวกในการพกพาสำหรับอุปกรณ์ที่รองรับ ยอดการคำนวณจากสถิติการใช้งานภายใน 2017 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีมากถึง 91.1% ของทั้งการเจริญเติบโตทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศทั้วโลก นอกจากนี้เรายังเพิ่มมูลค่าการใช้งาน มีการพัฒนาอละออกแบบให้ถูกกลุ่มลูกค้าทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราแตกต่างจากคู่แข่งบริษัทจากอื่น ๆ บริษัทมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีนวัตกรรมและเป็นผู้นำในกลุ่มอุปกรณ์โครงข่ายทางด้านการสื่อสาร Infratructure ในภูมิภาคเอเชีแปซิกฟิกและเป้าหมายของเราคือการตอบสนองความต้องการการใช้งานของลูกค้าทุกคน โดยนำเสนอโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมบริการที่ดีเยี่ยมและมีฟังก์ชั่นการใช้งานอื่น ๆ ที่มีคุณค่าเสริมให้มากขึ้น ส่วนแบ่งการตลาด TOUCH-ICS กว่า 70% ในห้างสรรพสินค้าใหญ่ เช่น Mega Bamgna, The mall

ผลงาน“ Call Genie ”

รางวัลดีเด่น ด้าน Businessประเภทบุคคลทั่วไป ผลงาน“ Call Genie ” โดย คุณณัฐพงศ์ ชาตบุตร และคณะจากบริษัท ซัน ซิสเท็มส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ผลงาน “ StockRadars ”

รางวัลดีเด่น ด้าน Businessประเภทบุคคลทั่วไป ผลงาน “ StockRadars ” โดย คุณธีระชาติ ก่อตระกูล และคณะ จากบริษัท สยามสแควร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด StockRadars คือแอพพลิเคชั่นที่ใช้เป็นเครื่องมือทุ่นแรงสำหรับนักลงทุนใน ตลาดหลักทรัพย์ เพื่อช่วยวิเคราะห์ และค้นหาหลักทรัพย์ที่น่าสนใจ

ผลงาน“ ระบบอักขราวิสุทธิ์ ”

รางวัลดีเด่น ด้าน Knowledge Management ประเภทบุคคลทั่วไป ผลงาน“ ระบบอักขราวิสุทธิ์ ” โดยคุณไพโรจน์ ลีลาภัทรกิจ และคณะ จาก บริษัท อินสไปก้า จำกัด ระบบอักขราวิสุทธิ์เป็นระบบป้องกันการลักลอกวิทยานิพนธ์ที่ทางบริษัท อินสไปก้า จำกัด ได้พัฒนาร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้พันธกิจ ความมุ่งมั่น และแรงสนับสนุนจากสภามหาวิทยาลัยฯ ที่จะทำให้”จุฬา ฯ 100 ปี ไม่มี Plagirism” เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยมีการตกลงให้ความร่วมมือกันของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวนมากกว่า 40 มหาวิทยาลัย บริษัท อินสไปก้า จำกัด ได้พัฒนาระบบอักชชราวิสุทธ์ โดยใช้พื้นฐานเทคโนโลยีทางด้านการประมวลผลข้อความ (Text Analytics) ที่ทางบริษัท อินสไปก้า จำกัด คิดค้นและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์การนำไปใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ ในหลากหลายอุตสาหกรรม และในปี พ.ศ.2555 ผลงานของบริษัท ฯ ได้รับการเสนอชื่อและได้รับรางวัลชนะเลิศในงาน Thailand ICT Awards หมวด Researh & Development

ผลงาน“ เครื่องอ่านขนาดสินค้า ระบบสามมิติ ”

รางวัลดีเด่น ด้าน Embedded Application & Tools ประเภทบุคคลทั่วไป ผลงาน“ เครื่องอ่านขนาดสินค้า ระบบสามมิติ ” โดย คุณเจียมศักดิ์ ทองรุ่ง และคณะจาก บริษัทซัคเซส สแตร ทิจิ โซลูชั่น จำกัด เป็น Hardware ทำงานโดยใช้ระบบอุลตร้าโซนิค สแกนหาขนาดสินค้าที่ต้องการข้อมูลที่ได้จะเป็นขนาด กว้างยาวสูง และทำงานควบคู่กับโปรแกรมจัดเรียงสินค้าเข้าตู้คอนเทรนเนอร์สินค้า เราคือผู้นำในการพัฒนาซอร์ฟแวร์ด้าน Optimization เพื่อใช้แก้ปัญหาจากการทำงานต่าง ๆ ซอร์ฟแวร์ Container Management ของเราใช้คำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดเรียงสินค้าที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุก ก่อให้เกิดการจัดส่งที่ใช้นทุนต่ำที่สุด และสร้างกำไรให้ผู้สั่งซื้อมากที่สุด ทำให้การคำนวณหาวิธีการจัดเรียงสินค้ากลายเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากอีกต่อไป หมดปัญหาเรื่องการผลิตสินค้าแล้วไม่สามารส่งออกได้หมด หรือการต้องคอยตอบคำถามลูกค้าว่าสั่งซื้อเท่าไรจึงจะเต็มคอนเทนเนอร์ หรือแม้แต่การที่ต้องปวดหัวกับการนำสินค้าเข้าไปจัดเรียงในคอนเทนเนอร์ ด้วยโปรแกรมนี้ปัญหาดังกล่าวจะหมดไปอย่างแน่นอน เพื่อหาวิธีการจัดเรียงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โปรแกรมมาพร้อมกับความสามารถและตัวเลือกใการคำนวณที่หลากหลาย เช่น – จัดเรียงตามลำดับสินค้า (Sequence) หรือตามความลึก (First In Last Qut) – ไม่จำกัดจำวนคอนเทนเนอร์ต่อการคำนวณ – รองรับสินค้าได้หลายขนาดต่อการคำนวณ