รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 9

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดแข่งขัน “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” รางวัลพระราชทานอันทรงเกียรติ ครั้งที่ 9

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ (มส.) หรือ Foundation for Research in Information Technology (FRIT) จัดการแข่งขันโคงการเทคโนโลยีสารสนเทศดีเด่น เข้ารับ “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล โดยผู้ชนะเลิศจะได้รับโล่รางวัลพระราชทาน จารึกอักษรพระนามาภิไธย “ส.ธ.” พร้อมเงินรางวัล 1 ล้านบาท

ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ พร้อมด้วย ดร.สุรพันธ์ เมฆาวิน รองประธานกรรมการมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ , ดร.กว้าน สีตะธรี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และนายอดิเรก ปฏิทัศน์ นายกสมาคมกิติมศักดิ์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 8 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ผลงานชนะเลิศของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทุกประเภทจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16 (NSC 2014) และผลงานชนะเลิศของบุคคลทั่วไปจากการแข่งขัน Thailand ICT Awards (TICTA) ประจำปี 2556 จะได้รับสิทธิ์เข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขันรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 8 พร้อมขอเชิญชวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชนและนิติบุคคลร่วมส่งผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าแข่งขันได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ธันวาคม 2555

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศจัดให้มีการประกวดรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ มาอย่างต่อเนื่อง โดยปี พ.ศ. 2555 นี้ กำหนดจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 8 เพื่อสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศหรือพัฒนาในเชิงธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง

การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล และประเภท นักเรียน นิสิต นักศึกษา โดยมูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ พระราชทานโล่รางวัล แก่ผู้ชนะทั้ง 2 ประเภท นอกจากนี้ผู้ชนะประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท และประเภท นักเรียน นิสิต นักศึกษา จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันต้องเป็นผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของคนไทยอาทิ Software, Hardware, Application, Solution, Communication, Network และต้องเป็นผลงานที่ประดิษฐ์คิดค้น ผลิตขึ้นในประเทศไทย และเป็นผลงานที่นำมาใช้ได้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศหรือสามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้

บรรยากาศงานแถลงข่าว “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 9

มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ จัดแถลงข่าวการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 10 พร้อมประกาศผล

“รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศ ธนาคารไทยพาณิชย์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (ATCI) โดยมี ดร.อมฤต เหล่ารักพงษ์ ประธานมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศและผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ คุณศุภชัย สัจจะไพบูลย์กิจ เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย และดร.กัลยา อุดมวิทิต รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติร่วมแถลงข่าว ณ โถงเอนกประสงค์ ชั้น UB ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ วันที่ 30 ตุลาคม 2557

พร้อมนี้ได้มีการประกาศผลการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 9ซึ่งมีผลงานส่งเข้าร่วมแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 47 ผลงาน แบ่งเป็น ประเภท บุคคลทั่วไป/นิติบุคคล จำนวน 25 ผลงาน และประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำนวน 22 ผลงาน ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานสร้างสรรค์ทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติอย่างแท้จริง
***ซึ่งในครั้งที่ 9 นี้ ไม่มีรางวัลชนะเลิศ ประเภทบุคคลทั่วไป เนื่องจากคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีผลงานที่มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ จึงไม่มีการมอบรางวัลสาขาบุคคลทั่วไปในปีนี้ ***

ผลงานที่ได้รับรางวัล

ผลงาน ” ระบบ V-Watch”

รางวัลดีเด่น บุคคลทั่วไป”รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” ระบบ V-Watch” โดย ผศ.ดร.มลคล เอกปัญญาพงศ์ และคณะ

ผลงาน “ONEWEB (Busimess Application Platform and Tools”

รางวัลดีเด่น บุคคลทั่วไป”รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน “ONEWEB (Busimess Application Platform and Tools” โดย นายอัครพล บุญวรเศรษฐ์ และคณะ จากบริษัท อวาแลนด์ โกลบัล จำกัด

ผลงาน ” Avalant Universal Loan Origination (ULO)”

รางวัลดีเด่น บุคคลทั่วไป”รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” Avalant Universal Loan Origination (ULO)” โดย นายอัครพล บุญวรเศรษฐ์ และคณะ จากบริษัท อัฟวาแลนท์ จำกัด

ผลงาน ” SocialEnable 2.0 “

รางวัลดีเด่น บุคคลทั่วไป”รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” SocialEnable 2.0 ” โดย นายวัชระ เอมวัฒน์ และคณะ จากบริษัท คอมพิวเตอร์โลจี จำกัด SocialEnable 2.0 หลักการทำงานเบื้องต้น ปัจจุบันโซเชียลมีเดียเข้ามาเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญสำหรับหลายธุรกิจ แต่ความท้าทายที่พบคือจะจัดการ วิเคราะห์ และเปลี่ยนให้เป็นกระบวนการเชิงปฎิบัติอย่างแท้จริงได้อย่างไร ดังนั้นระบบการจัดการบริหารโซเชียลมีเดียจึงเข้ามาช่วยจัดการในภาพดังกล่าว SocialEnable คือ ระบบการจัดการบริหารโซเชียลมีเดีย (Social Media Management System) ที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถจัดการและมอนิเตอร์ช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Google+ และ Pantip ภายใต้ Dashboard เดียวกัน คุณสามารถตอบกลับไปได้ด้วยระบบของ SocialEnable อีกทั้งยังนำโพสต่างๆ มาจัดกลุ่มตามสินค้าและบริการของทางองค์กร เพื่อสามารถตรวจสอบและรายงานผลได้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่มีความสนใจและเข้ามาติดต่อด้วยกลุ่มของสินค้าและบริการใดมากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถวัดผลทางอารมณ์ของผู้เข้ามาติดต่อ และจัดหมวดหมู่ให้กับวัตถุประสงค์ของผู้เข้ามาติดต่อได้อัตโนมัติอีกด้วย ประโยชน์ สายงานบริการดูแลลูกค้า (Customer Service) SocialEnable เปลี่ยนโซเชียลมีเดียให้กลายเป็นระบบดูแลลูกค้าออนไลน์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด มีฟังก์ชั่นในการจัดการข้อความที่มาจากลูกค้าได้ทั้งหมด

ผลงาน “ระบบนำทางภายในอาคารเพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา″

รางวัลชนะเลิศ ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน “ระบบนำทางภายในอาคารเพื่อช่วยเหลือผู้พิการทางสายตา″ โดย นายกฤตภาส ภักดีทศพล และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โครงการนี้เป็นโครงการเกี่ยวกับการสร้างแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือผู้พิการทางสายตาให้สามารถดารงชีวิตได้ด้วยตนเอง ซึ่งแอปพลิเคชันถูกออกแบบมาเพื่อช่วยนาทางผู้พิการทางสายตาไปยังสถานที่ต่างภายในอาคาร โดยระบบจะประมวลผลเส้นทาง และบอกเส้นทางในการเดินทางจากตาแหน่งที่ผู้พิการทางสายตายืนอยู่ไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ ระบบนาทางภายในอาคารจะอาศัยเครื่องนับก้าวเดิน (pedometer) ซึ่งการเดินทางภายในอาคารจาเป็นต้องมีแผนที่ภายในอาคารเก็บไว้ในระบบ การพัฒนาระบบมุ่งเน้นที่ความสะดวกสบายของผู้พิการทางสายตา ดังนั้นการแสดงผลจะไม่เน้นทางด้านหน้าจอ แต่จะเน้นการแสดงผลทางเสียงเป็นหลัก รวมถึงการรับคาสั่งโดยใช้ท่าทางนิ้วมือและเสียง ระบบนี้แบ่งเป็นสองส่วน โดยส่วนแรก เป็นส่วนแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ที่มีระบบนาทางภายในอาคาร ส่วนที่สองเป็นส่วน backend ซึ่งใช้การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆในการเก็บข้อมูลแผนที่ภายในอาคาร และภาพสถานที่ โดยมีเว็บแอปพลิเคชันเป็นตัวควบคุมในการส่ง แก้ไขหรือลบข้อมูล นอกจากนี้ยังใช้เพื่อประมวลผลภาพถ่าย เพื่อระบุตาแหน่งของผู้ใช้งานระบบ โดยการเทียบภาพถ่ายที่ผู้ใช้งานถ่ายกับภาพถ่ายสถานที่ที่เก็บอยู่ในระบบ รายละเอียด จากสถิติจานวนผู้พิการ พบว่าผู้พิการทางสายตามีจานวนมากอยู่ในลาดับต้นๆของสังคมและมีจานวนเพิ่มมากขึ้นในทุกปี ในปัจจุบันผู้พิการทางสายตายังขาดเครื่องอานวยความสะดวกที่สามารถลดความบกพร่องได้อย่างสมบูรณ์แบบ ดังนั้นระบบนาทางที่ออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ใช้โดยเฉพาะผู้พิการทางสายตาจึงเป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้คณะผู้จัดทาได้เล็งเห็นถึงความสาคัญของระบบนาทางสาหรับผู้พิการทางสายตาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนาทางภายในอาคาร จึงเกิดเป็นแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า BAT หรือ blind assistive tool BAT หรือ blind assistive tool เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้พิการทางสายตามาสามารถเดินทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้งานจะต้องใส่รองเท้า

ผลงาน ” ระบบแนะนำ และประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่าย สังคมออนไลน์”

รางวัลดีเด่น ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” ระบบแนะนำ และประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่าย สังคมออนไลน์” โดย นางสาวนารีรัตน์ แซ่เตียว และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี DOM (Data and opinion mining) ระบบแนะนำและประเมินกิจกรรม โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ โครงงานนี้เป็นการพัฒนาระบบแนะนาและประเมินกิจกรรมโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Event suggestion and evaluation system based on social network mining) เพื่อนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่สำคัญ เหตุการณ์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร รวมถึงความคิดเห็นของประชาชนทั่วไป ต่อเหตุการณ์นั้นๆ ซึ่งข้อมูลจะมาจากเว็บไซต์ที่น่าสนใจ และวิเคราะห์จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) ที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ผ่านทางสื่อสังคม (Social Media) เช่น Twitter, Facebook, Pantip เป็นต้น

ผลงาน ” Movement skill development for LD kids”

รางวัลดีเด่น ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” Movement skill development for LD kids” โดย นายมาโนช ศรีวราเกรียติ และคณะ จากมหาวิทยาลับเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายมาโนช ศรีวราเกียรติ นางสาวจิราภรณ์ วิเชียรวรรณ และนายสิทธา ขำหาญ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คว้ารางวัลดีเด่น ด้าน Edutainment ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ครั้งที่ 9 จากผลงาน “Movement skill development for LD kids” ซึ่งมีอาจารย์สุเมธ อังคะศิริกุล และดร.วิชัย เอี่ยมสินวัฒนา เป็นที่ปรึกษาโครงงาน การประกาศผลและรับรางวัลจัดไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ SCB

ผลงาน ” การพัฒนาเกมสามมิติประเภทแอ๊กชั่นอาร์พีจี แบบมัลติแพลตฟอร์ม : เกมมอนสเตอร์อินไทยแลนด์”

รางวัลดีเด่น ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ “ครั้งที่ 9 ผลงาน ” การพัฒนาเกมสามมิติประเภทแอ๊กชั่นอาร์พีจี แบบมัลติแพลตฟอร์ม : เกมมอนสเตอร์อินไทยแลนด์” โดย นายกฤษฎา มหากิจไพศาล และคณะ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผลงาน “ซอฟท์แวร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง”

รางวัลดีเด่น ประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ ” ครั้งที่ 9 ผลงาน “ซอฟท์แวร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดยนายเกรียงไกร ทรัพย์ชิต และคณะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดผลงานได้ Downloadคู่มื่อการใช้งาน Downloadสรุปการทำโครงการ